คุ้มมั้ยถ้าจะอัพ DAC หางหนูไป Questyle M15 / Cayin RU6
ถ้ายังลังเลอยู่ว่าจะย้ายจาก DAC หางหนูที่ใช้อยู่แล้วอัพขึ้นไปเล่น Dongle DAC ระดับไฮเอนด์อย่าง Questyle M15 /หรือ Cayin RU6 จะดีมั้ย? คุณภาพที่ได้จะคุ้มค่าการลงทุนรึเปล่า? งานนี้เรามีคำตอบให้ครับ
ได้เอาท์พุตหูฟังถึงสองรูปแบบ!
ถ้าคุณมีหูฟังที่ใช้หัวแจ็คและสายทั้งระบบ Balanced รวมถึง Single-End การเลือกขยับไปที่ M15 หรือ RU6 จะตอบโจทย์มากครับ เพราะ DAC หางหนูหลายรุ่นอาจจะมีเอาท์พุตหูฟังให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่สำหรับ M15 และ RU6 รองรับทั้ง 3.5mm. และ 4.4mm. พร้อมครับ
ตั้งค่า Gain ได้!
นอกจากจะให้เอาท์พุตมาสองรูปแบบแล้ว Dongle DAC ทั้งสองรุ่นยังสามารถตั้งค่า Gain ได้อีก 2 ระดับนั่นก็คือ Low กับ Hi ทำให้เราแมทช์กับหูฟังที่มีได้ง่ายขึ้นครับ หูฟังตัวไหนมีค่าโอห์มต่ำก็ใช้ Gain แบบ Low ถ้าหูฟังอีกตัวของเรามีค่าโอห์มสูง บริโภคพลังงานเยอะก็ใช้ Gain แบบ Hi จะขับได้อย่างเต็มที่
รองรับรายละเอียดระดับสูง!
Dongle DAC ทั้งสองรุ่นสามารถให้รายละเอียดเสียงได้สูงลิบลิ่วครับ รองรับการถอดรหัสที่ PCM 32-Bit / 384kHz และ DSD256 เช่นกัน แต่สำหรับ M15 จะพิเศษกว่าหน่อยเพราะสามารถใช้งาน MQA ได้ด้วยครับ ก็จะเหมาะกับผู้ที่สตรีมผ่าน Tidal เป็นหลัก
ระบบ DAC ของทั้งคู่ถือว่าพิเศษมากและให้คาแรคเตอร์เสียงที่ดีเยี่ยมระดับเดียวกับ DAC ตั้งโต๊ะเลยล่ะครับ อย่าง M15 เองจะใช้ชิป ESS ES9281AC ซึ่งเป็นชิประดับท็อปรองรับไฟล์อย่าง Flac และ Alac ด้วย ยิ่งถ้าเป็น RU6 จะพิเศษมากเพราะใช้ DAC แบบ Discrete 24Bit R-2R Ladder Resistor ให้โทนเสียงที่อิ่มและมีกลิ่นไอของอะนาลอคสูงเป็นอย่างยิ่ง
ภาคขยายที่ดีกว่าเดิมเยอะ!
พูดถึงเอาท์พุตไปแล้ว แต่จะลืมเรื่องภาคขยายหรือ Amp ของทั้งสองรุ่นไปไม่ได้ครับ นอกจากเรื่องจำนวนเอาท์พุตและการตั้งค่า Gain ได้แล้ว ความเจ๋งของการขยับมาเล่น M15 กับ RU6 คือคุณจะได้ภาคขยายที่ทั้งแรงและสะอาด
อย่าง M15 เองมีค่า distortion ต่ำเพียง 0.0003% ทำให้มีพื้นหลังที่สงัดสุดๆ ได้รายละเอียดมาเต็มทุกเม็ด บวกกับยังสามารถให้กำลังขับได้สูงเกินขนาดตัวซึ่งก็เป็นผลมาจากวงจรแอมป์แบบ CMA SiP Module หรือ Current Mode Amplification ลิขสิทธิ์เฉพาะของ Questyle เค้าเลย
หรือฝั่ง RU6 ก็จะมาพร้อมกับโวลลุ่มคอนโทรลแบบ resistor-based ที่เรามักจะเจออยู่ในแอมป์ระดับไฮเอนด์ซะมากกว่า DAC ตัวเล็กๆแบบนี้ ซึ่งในการทำงานระบบจะมี resistor และ relay อีก 9 ชุดคอยดูแลทำให้สามารถปรับระดับเสียงได้ถึง 99 สเตปด้วยกัน
ฟีเจอร์เฉพาะตัวที่หาไม่ได้จากที่อื่น
ทั้ง M15 และ RU6 ยังมีจุดเด่นที่หาไม่ได้จาก DAC หางหนูทั่วๆไปอีกครับ
Questyle M15 ยังมีระบบตรวจจับค่าความต้านทานของหูฟังแบบอัตโนมัติและทำการปรับค่าเอาท์พุตให้เหมาะสมเอง นอกจากนั้นก็มีระบบที่เรียกว่า TOREX ซึ่งเป็นระบบจัดการพลังงานประสิทธิภาพสูง ทำให้เครื่องใช้พลังงานต่ำ ไม่สะสมความร้อนมากเกินไป ช่วยให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ยาวนานขึ้น
Cayin RU6 มีโหมด NOS (Non-Oversampling) และ OS (Oversampling) ให้เลือกใช้ ถ้าชอบน้ำเสียงออริจินอลที่เป็นธรรมชาติก็ให้เลือกโหมด NOS แต่ถ้าอยากได้คุณภาพของสัญญาณดิจิตอลที่ดีขึ้น ให้รายละเอียดสูงคมกริบ รวมถึง Noise ที่ลดลงก็สามารถเปลี่ยนมาที่โหมด OS แทนครับ
Questyle M15 & Cayin RU6
ถ้าวัดกันในหมวด Dongle DAC หรือ DAC ตระกูลหางหนูทั้งหลายทั้ง Questyle M15 และ Cayin RU6 ยังคงอยู่ในหัวแถวต่อไปครับ ด้วยสเปคที่ดีล้นเกินหน้าเกินตาแม้กระทั่ง DAC-Amp ตั้งโต๊ะ ถ้าคิดจะอัพเกรดชุดพกพาที่มีอยู่มาเป็นสองรุ่นนี้แล้วล่ะก็ บอกเลยว่ายังไงก็คุ้มแน่นอนครับผม